สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เราคงยังอยู่กับมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับแขกรับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งท่านมีความสำคัญกับโครงการ digital transformation ของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก ท่านนี้ก็คือ ท่านอาจารย์ ดร.พิพัธน์ เรืองแสง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวิจัยดิจิตัล ท่านจะมาร่วมแชร์ประสบการณ์ และ มุมมองภาพรวมโครงการ digital transformation ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เชิญทุกท่านติดตามได้จากบทความด้านล่างได้เลยครับ
K2 : ทราบมาว่าในโครงการนี้ อาจารย์จะดู มุมมองภาพรวมโครงการ digital transformation ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช่ไหมครับ ในเบื้องต้นนี่ไม่ทราบว่าทางมหาวิทยาลัยมี scope ของโครงการเป็นอย่างไรบ้างครับ
อาจารย์ ดร.พิพัธน์ เรืองแสง : เบื้องต้นต้องเรียนให้ทราบเกี่ยวกับนโยบายของมหาวิทยาลัยก่อนครับ คือในปัจจุบันนี้ มันมีเรื่องของการ disruption เต็มไปหมด ทีนี้ในการทำงานของมหาวิทยาลัยเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ซึ่งหลักๆ คือ เราต้องการให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการที่เราจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราก็ต้องมีทั้งเครื่องมือ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของบุคลากรด้วย โดยโครงการที่ผมมีความรับผิดชอบ ทางมหาวิทยาลัยก็อยากจะเอาเทคโนโลยีมาใช้ ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้การทำงานของบุคลากรเรามีประสิทธิภาพ มีความง่ายขึ้น มีความยืดหยุ่น และมีความสะดวกสบาย
ประกอบกับเป็นช่วงที่มีเรื่องโควิดเข้ามา ต้องทำงานจากที่บ้าน ตรงนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ เราก็คิดว่า เราจะเอาเครื่องมือไหนมาใช้ ซึ่งมหาวิทยาลัยเราก็มองว่า workflow นี่ก็เป็นเรื่องสำคัญ โดย software ที่เราใช้ K2 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดี มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งเราสามารถเอามาพัฒนาและเอามาทำเองได้ในบางงานที่ไม่ได้ยุ่งยากเกินไป ซึ่งนี่ก็ตรงกับแนวทางที่เรามองไว้
K2 : แล้วในส่วนของ project ล่ะครับ เข้าใจว่าจะมีส่วนของ module หลักๆ 3 modules อาจารย์ช่วยแชร์ให้พวกเราทราบได้ไหมครับว่าเป็นส่วนไหนบ้าง ละเป็นอย่างไรบ้างครับ
อาจารย์ ดร.พิพัธน์ เรืองแสง : ในการทำงานนี่ เราเลือกระบบที่จะนำมาพัฒนา ซึ่งจริงๆ ต้องเรียนว่า แต่เดิมเราก็มีระบบอยู่แล้ว แต่ในบางงานก็ได้ทำในส่วนย่อย ไม่ได้ทำในส่วนกลาง ดังนั้นในส่วนนี้ก็จะมีปัญหาเรื่อง gap เกิดขึ้น เช่น คนใช้คนละระบบกัน ดังนั้นเราจึงมาคิดว่าจะพัฒนายังงัยให้คนส่วนใหญ่มาใช้ระบบกลาง มีคนใช้เยอะ ให้การทำงานสามารถทะลุผ่านกันไปเลยระหว่างองค์กรได้ ดังนั้น 3 ระบบที่เรามอง จึงเป็นส่วนของงานหลักๆที่บุคลากรต้องใช้ครับ อย่างเวลาทำงานก็จะมีช่วงเวลาที่ทำเยอะทำน้อยแตกต่างกันไป เช่น ในช่วงเวลาจัดทำแผนเพื่อทำโครงการต่างๆ ก็จะมีคนเข้ามาใช้งานเยอะตามไตรมาส หรือบางงานก็มีคนใช้งานตลอดเวลาแต่ไม่ได้เยอะ เช่น ระบบการอนุมัติของราชการ ซึ่งทุกคนต้องใช้ แต่ค่อยๆใช้แบบต่อเนื่อง
อาจารย์ ดร.พิพัธน์ เรืองแสง : ส่วนอีกโครงการก็เป็นโครงการที่ว่าจะทำอย่างไรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย เรามองว่าทางมหาวิทยาลัยได้ใช้กระดาษเป็นปริมาณที่มากและทำกันมานานแล้ว พอโควิดมา หลายคนก็ไม่อยากจะสัมผัสกระดาษ เราก็เลยมีความคิดที่จะเปลี่ยนจากกระดาษเป็นดิจิตัล เราอาจจะมีการแสกนเอกสารเก็บไว้ แต่ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถค้นหาคำของเอกสารได้ แล้วจะเก็บอย่างไรให้เป็นระบบ เราจึงคิดว่าจะนำ k2 มาใช้เพื่อมาช่วยจัดการกับเอกสารที่มีการแสกน
K2 : เท่ากับว่าความยากลำบากในการ transform ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นแทบจะไม่มี เพราะว่าทุกคนพร้อมใจที่อยากจะทำด้วยใช่ไหมครับ
อาจารย์ ดร.พิพัธน์ เรืองแสง : เรียกว่าเป็นจังหวะที่ดีครับ ที่โควิดมาช่วยให้เรามากกว่า คือเราวางแผนไว้นานแล้ว มีระบบ network มีตัว access point มี software พร้อมแล้ว ขาดแต่บุคลากรที่จะมาใช้ระบบ แต่พอมีโควิดเข้ามาปุ๊ป ทุกคนเต็มใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่ ก็ถือว่าเป็นโชคดีของเราครับ
K2 : เหมือนที่เค้าบอกใช่ไหมครับว่าในวิกฤตก็มีโอกาส แล้วในฐานะภาพรวมของโครงการ อาจารย์เห็นถึง challenge อะไรบ้างครับในการทำ digital transformation มีความท้าทายหรือเราต้องคิดถึงแผนสำรองอะไรบ้างครับ
อาจารย์ ดร.พิพัธน์ เรืองแสง : จริงๆ แล้วผมทำหน้าที่เหมือนเป็น project manager สำหรับโครงการนี้ ทำอย่างไรให้โปรเจคจบออกมาแล้วใช้งานได้ ทันตามเวลา และประหยัดงบประมาณ มีความคุ้มค่า ทีนี้ challenge ที่เจอก็คือว่า อย่างที่เรียนไปเบื้องต้นแล้วว่า มหาวิทยาลัยก็มีหลายระบบย่อยๆ ทีนี้การเชื่อมต่อกัน บางทีก็มีปัญหาหลายอย่าง software ที่นำมาใหม่ บุคลากรก็ต้องมีการเรียนรู้ ความเข้าใจที่ตรงกันระหว่าง user กับการพัฒนาระบบก็ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกัน เพื่อให้การพัฒนาตอบ requirement ส่วนตัวผมเชื่อว่า ถ้าเค้าได้เห็น product สุดท้ายแล้ว แล้วมันสามารถทำให้การทำงานของ user นั้นทำได้ดีขึ้น เราก็จะสามารถข้ามปัญหาตรงจุดนี้ไปได้ครับ ซึ่งผมเชื่อนะครับ หลังจากที่เรา launch ระบบทั้ง 3 ระบบแล้ว ผู้ใช้น่าจะมีความพึงพอใจ แล้วก็อยากใช้ K2 ในการพัฒนาระบบอื่นๆต่อไปครับ เพราะ software ค่อนข้างมีความยืดหยุ่น แล้วตัวเค้าเองก็น่าจะสามารถทำเองได้
K2 : แสดงว่าในอนาคตอันใกล้นี่ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีความต้องการ developer เพื่อมาพัฒนา K2 ใช่ไหมครับ
อาจารย์ ดร.พิพัธน์ เรืองแสง : ครับ ก็มีความเป็นไปได้ อาจจะเป็นนักศึกษา หรือบุคลากร แต่ที่จริงก็ไม่ได้ใช้งานยาก เพราะว่าตัว K2 ก็เป็น visual programming ใช้ drag and drop ทำให้รู้สึกว่าทำง่าย ดังนั้นเค้าอาจจะทำการทดสอบ flow ด้วยตัวของเค้าเองได้เลย ก็น่าจะทำเองได้ครับ
K2 : อันนี้ถามส่วนตัว เพราะเห็นว่าอาจารย์ก็อยู่ในภาควิชาคอมพิวเตอร์ด้วย แนวโน้มที่จะพัฒนานักศึกษาให้มาเรียนรู้แล้วคิดเรื่อง flow นอกเหนือจาก programming language มีความเป็นไปได้ไหมครับ
อาจารย์ ดร.พิพัธน์ เรืองแสง : มีความเป็นไปได้ครับ อย่างในการจัดงานที่ผ่านมา เราก็ได้มีการคุยกันในเรื่องของ digital transformation เพราะโลกสมัยนี้มันเปลี่ยนไปค่อนข้างรวดเร็ว การเรียนรู้ในตัวหนังสืออาจจะไม่เพียงพอ และได้ไม่เท่ากับการปฏิบัติงานจริง นักศึกษาจึงควรรู้และรับทราบว่า เออ มันมีเครื่องมืออะไรที่ทำให้การทำงานมันมีประสิทธิภาพง่ายขึ้น ไวขึ้น และยืดหยุ่นมากขึ้น เค้าจึงควรเรียนรู้และปรับตัว มีเครื่องมือที่ไหน มีแหล่งไหนให้เค้าเรียนรู้บ้าง
อาจารย์ ดร.พิพัธน์ เรืองแสง : ซึ่งในแง่ของการพัฒนา developer ให้มีความต้องการของตลาด ทางภาควิชาก็ได้มีความร่วมมือกับองค์กรและบริษัท IT ต่างๆ โดยมีโครงการ open house เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทได้มาแนะนำนักศึกษาในการเตรียมตัว และแนะแนวข้อมูลว่าตอนนี้มีเทคโนโลยีอะไรบ้าง อะไรเป็นความต้องการของตลาด เพื่อให้นักศึกษาได้มีการเตรียมตัว ฝึกซ้อม และหาข้อมูลล่วงหน้าครับ
หากท่านผู้อ่านสนใจเปลี่ยนธุรกิจหรือองค์กรสู่ digital ในเบื้องต้นท่านสามารถเลือกชม application จาก partner ของเราที่มีมากมายได้ที่นี่
หรือถ้าต้องการให้ทีมงานติดต่อกลับ ก็สามารถกรอกแบบฟอร์มได้ตามด้านล่างเลยครับ