ในโลกที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่มีผู้เชี่ยวชาญที่รู้ลึกซึ้งในด้าน Supply Chain Management มาร่วมแบ่งปันความรู้ถือเป็นโอกาสอันมีค่าที่จะพลาดไม่ได้ ในงานสัมนานี้เรามีโอกาสพิเศษที่จะได้ฟังแนวคิดและมุมมองจาก ดร.ธนพัฒน์ พรรธนะประเทศ (อ.หนุ่ม) ที่ปรึกษาด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดการซัพพลายเชน ผู้เป็น Supply Chain Guru ที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ในอุตสาหกรรม
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักธุรกิจที่มุ่งหวังสู่ความสำเร็จ หรือผู้บริหารในองค์กรที่กำลังมองหาวิธีการปรับปรุงระบบการทำงานของตนเอง บทสัมภาษณ์นี้จะนำพาให้คุณได้พบกับแนวทางใหม่ๆ วิธีคิดที่แปรเปลี่ยนทุกปัญหาให้เป็นโอกาส พร้อมด้วยการใช้เทคโนโลยีและการสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณค่ากับลูกค้า และซัพพลายเออร์
ต้นน้ำถึงปลายน้ำ | Upstream to Downstream Supply Chain
ในการดำเนินการของซัพพลายเชน เริ่มต้นจากต้นน้ำที่บริษัทของเราอยู่ตรงกลาง การขายสินค้าหรือต่อให้บริการแก่ลูกค้านั้น แม้จะเป็นคนผลิตหรืออยู่ในภาคส่วนใด ก็ตาม คุณต้องมี input เข้ามา ซึ่งผู้ดูแล input สำหรับบริษัทก็จะเป็นฝ่าย Procurement Supply Chain
พื้นฐานของ Procurement คือ Supply Management นั่นคือการหาสิ่งของเข้าบริษัท โดยเราจะแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนหลัก:
- Upstream Supply Chain: จัดซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้จัดจำหน่าย (Supplier) เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์หรือบริการต่างๆ
- Internal Supply Chain: การบริหารจัดการซัพพลายเชนภายในองค์กร ซึ่งรวมถึงกระบวนการการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) และการประสานงานภายในแผนกต่างๆ
- Downstream Supply Chain: การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าหรือบริการไปสู่ลูกค้า ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management) เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที
สิ่งที่สำคัญคือการทำให้ระบบ Streamline และ Synchronized กันระหว่างการดำเนินการทั้งสามส่วนนี้ หากขาดการใช้เทคโนโลยีและแนวคิดการทำ Digitalization จะทำให้การทำงานของเราดูยุ่งเหยิงและตามไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ยังต้องโฟกัสที่ Downstream การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) เราต้องใช้เทคโนโลยีและ Platform ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการเพื่อให้เวลาของเรามีคุณค่ามากขึ้น
พลิกโฉมการจัดซื้อจัดจ้าง | Procurement Transformation
การจัดซื้อจัดจ้างสามารถแบ่งออกเป็นสามระดับหลักที่แตกต่างกัน โดยแต่ละระดับนี้มีบทบาทและความสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร ดังนี้:
- Transactional Procurement: การจัดซื้อในระดับนี้มักเน้นการซื้อสินค้าพื้นฐานหรือบริการที่มีความต้องการเพียงชั่วคราว ซึ่งมักไม่มีคุณค่าเพิ่มมากนัก การดำเนินงานในลักษณะนี้มักจะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามปกติ โดยที่จะมุ่งเน้นไปที่การซื้อในราคาต่ำที่สุด ซึ่งอาจส่งให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้า เช่น การมีสินค้าคงคลังเกินความจำเป็นและสร้างต้นทุนที่ไม่คุ้มค่าให้กับบริษัท
- Tactical Procurement: การจัดซื้อในระดับนี้จะเริ่มมีการทำงานร่วมกับแผนกอื่น ๆ ภายในองค์กรมากขึ้น การดำเนินงานจะเริ่มส่งสัญญาณถึงการพัฒนา แต่ทว่า การทำงานร่วมกันยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในระบบที่มีความสอดคล้องกัน บ่อยครั้งพบว่าต่างแผนกทำงานแยกกัน ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพเต็มที่
- Supply Management (Strategic): ในระดับนี้ บริษัทจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน โดยการบูรณาการกระบวนการระหว่างแผนกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน การสร้างค่าเพิ่ม (Value) จากกลยุทธ์การจัดซื้อและการจัดการซัพพลายเชนนั้นจะต้องมาอยู่ภายใต้การประสานงานที่ดีภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันในตลาด
สิ่งสำคัญคือการพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากรภายในองค์กร เพื่อให้พวกเขาสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในตลาดซัพพลาย รวมถึงการสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพภายในองค์กร สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจและจับตามองโอกาสใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากองค์กรสามารถทำการพลิกโฉมในกระบวนการ Procurement ได้สำเร็จ จะเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างความเติบโตและความยั่งยืนในธุรกิจต่อไป.
กลยุทธ์การแข่งขันที่จับต้องได้ | Competitive Advantage
การมีประสิทธิภาพในการแข่งขันไม่เพียงแต่หมายถึงการชนะคู่แข่งในตลาด แต่ยังหมายถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มที่สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้น เราสามารถดำเนินการในกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้:
- Reduce Cost (ลดต้นทุน): การลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นสามารถส่งผลให้บริษัทมีกำไรที่สูงขึ้น ต้นทุนที่ลดลงนอกจากจะช่วยให้ผลกำไรเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยให้บริษัทสามารถตั้งราคาแข่งขันในตลาดได้ดียิ่งขึ้น เป็นการสร้างความได้เปรียบที่สำคัญ
- Ensure continuity of production (สร้างความต่อเนื่องในการผลิต): การวางแผนอย่างรอบคอบล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงจากการหยุดงานหรือการขาดแคลนวัตถุดิบ เป็นเรื่องจำเป็นในการรักษาความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า การติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับซัพพลายเออร์ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการหยุดการผลิต
- Response quickly to market change (ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็ว): ความสามารถในการปรับตัวและเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็ว คือกุญแจสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การติดตามแนวโน้มของตลาดและการเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า จะช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองได้ทันท่วงที
- Innovation (นวัตกรรม): การเปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการสะสมประสบการณ์ผ่านการเข้าร่วมการจัดแสดงสินค้าหรืองานสัมมนาต่าง ๆ จะทำให้บริษัทมีความสามารถในการนำเสนอนวัตกรรมที่ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดียิ่งขึ้น
- Improve Quality (ปรับปรุงคุณภาพ): การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและการรักษาระดับคุณภาพสูงจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตและการให้บริการ
เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราจะเลือกทำงานแบบ “Wait and See” หรือ “Seek and Find” โดยที่คำตอบนี้จะมีผลกระทบต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจในอนาคต การรอคอยโอกาสที่เข้ามาเป็นอาจทำให้พลาดโอกาส ในขณะที่การมุ่งมั่นในการหาโอกาสด้วยตัวเองจะนำมาซึ่งการพัฒนาและการเติบโตในธุรกิจได้อย่างแท้จริง
การเพิ่มคุณค่าของงานจัดซื้อจัดหา | Creating Value in Procurement
ในทุกอุตสาหกรรมและทุกบริษัท ล้วนมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การสร้าง กำไรมากขึ้น, การเติบโตของตลาด (Market Growth), การเติบโตของกำไร (Profit Growth) และ การเติบโตของธุรกิจ (Business Growth) เป้าหมายเหล่านี้คือหัวใจสำคัญที่นำทางการดำเนินงานของเรา และคำถามที่เราต้องตอบคือ “เราจะไปถึงเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร?”
เพื่อให้การทำงานของเรานำไปสู่วิธีการสร้างคุณค่าในระบบจัดซื้อจัดหานั้น เราต้องเริ่มจากการพิจารณาส่วนต่าง ๆ ดังนี้:
- Organization Performance: ประสิทธิภาพขององค์กรเริ่มต้นจากการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพในทุกระดับ เราต้องทำให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งองค์กรก้าวเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องและเป็นขั้นตอน
- Business Sustainability: การสร้างความยั่งยืนในธุรกิจไม่เพียงแต่หมายถึงการหารายได้ แต่ยังรวมถึงการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เงินลงทุนเพื่อการพัฒนาและการจัดการซัพพลายเชนในระยะยาว เพื่อที่ธุรกิจจะได้เติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต
- Operational Performance: การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การลดระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด (Time to Market) เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ บริษัทที่สามารถหมุนเวียนผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว มักจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า
- Transactional Procurement: นี้คือขั้นตอนการจัดการงานทางธุรกรรม เช่น การออกใบแจ้งหนี้ (Invoice), การจัดการใบขอซื้อ (Purchase Requests) จนกระทั่งการตรวจรับของและการจ่ายเงิน การมีขั้นตอนที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพในด้านนี้จะลดข้อผิดพลาดและเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการ
- Strategic Procurement: ในฐานะของ “Chief of Procurement Officer” คุณต้องมองการทำงานในเชิงกลยุทธ์ ซึ่งหมายถึงการวางแผนและการพัฒนาระบบเพื่อให้ตลอดกระบวนการจัดซื้อจัดหามีความสอดคล้องกัน การมีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวไปข้างหน้าและมีความรับผิดชอบมากขึ้น จะทำให้การทำงานมีความสดใสขึ้นและเต็มไปด้วยโอกาสใหม่ ๆ
หากเราสามารถทำ Strategic Sourcing และจัดการ Category Management ให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดแบ่งประเภทงานออกเป็นสองกลุ่มก็จะช่วยให้เราสามารถแยกแยะและจัดการได้อย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น
หากท่านผู้อ่านสนใจเปลี่ยนธุรกิจหรือองค์กรสู่ digital ในเบื้องต้นท่านสามารถเลือกชม application จาก partner ของเราที่มีมากมายได้ที่นี
ชมสัมมนาฉบับเต็มได้ที่
#DigitalTransformation #SupplyChainManagement #SmartProcurement #PaperlessTransformation #Nintex #K2 #NintexK2 #Automation #Cloud