แนวคิดดีๆ จาก ดร. กิตต์ เธียรธโนปจัย ผอ. สำนักเทคโนโลยีดิจิตัล ม.ขอนแก่น

กรกฎาคม 27, 2020

สวัสดีครับ ในวันนี้ K2 ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร. กิตต์ เธียรธโนปจัย ผอ. สำนักเทคโนโลยีดิจิตัล ม.ขอนแก่น ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นคนผู้ดูแล infrastructure พื้นฐานของม.ขอนแก่น รายละเอียดจะเป็นอย่างไร สามารถรับชมและรับฟังได้เลยครับ

K2 : ขออนุญาตถามครับ ผมเห็นว่าที่นี่ใช้คำว่า สำนักงานดิจิตัลเลย มีความเป็นมาเป็นอย่างไรครับ

ดร. กิตต์ เธียรธโนปจัย : เราเริ่มต้นจากศูนย์คอมพิวเตอร์ ตั้งมาได้ 30-40 ปี แล้วครับ ตอนนั้นเราเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญจึงให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีค่อนข้างมาก สมัยนั้น เราทำงานกันในเชิงที่มีเป้าหมายที่ว่าจะเอาเทคโนโลยีมาช่วย support การเรียนการสอน ภารกิจช่วงแรกๆก็จะเป็นการให้บริการใช้คอมพิวเตอร์

เมื่อเวลาต่อมาอินเตอร์เน็ทเริ่มบูมมากขึ้น ศูนย์คอมพิวเตอร์จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นหน่วยสารสนเทศ เพื่อดูแลเรื่อง back office ภายในมหาวิทยาลัย และตั้งชื่อว่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในปัจจุบันได้เห็นว่าเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิต ระบบดิจิตัลถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น สำนักเทคโนโลยีดิจิตัล ม.ขอนแก่น ครับ คือ นอกเหนือจากการทำงานแล้วเนี่ย เราก็สามารถเอาดิจิตัลมาใช้ในชีวิตประจำวันอื่นๆด้วย ภารกิจเราก็เป็นเรื่องดูแลว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้กับผู้ใช้อย่างไรโดยที่ผู้ใช้มีความสะดวกสบาย ไม่เจอปัญหา เช่น ใช้อีเมล์ก็ไม่มี spam รบกวน หรือว่าการดูแลรักษา password ให้ดีพอ มีความปลอดภัยสูง ซึ่งทุกอย่างนั้นเกี่ยวข้องทั้งในงานและชีวิตทั่วไป

K2 : ก็เท่ากับว่าไม่ได้มองแค่ operation อย่างเดียวแต่มองไม่ถึงชีวิตประจำวันด้วย

ดร. กิตต์ เธียรธโนปจัย : ใช่ครับ IT เป็นเรื่องใกล้ตัว และมหาวิทยาลัยเองก็มีคนอาศัยในมหาวิทยาลัย ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเยอะ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรภายในหรือภายนอก เราก็อยากให้คนที่เข้ามาใช้งานระบบ IT ของมหาวิทยาลัย ใช้งานอย่างมีความสุข

K2 : ทางมหาวิทยาลัยมีการจัดการอย่างไรกับเหตุการณ์ COVID-19 บ้างครับ

ดร. กิตต์ เธียรธโนปจัย : คือ ความโชคดีของเราคืออธิการบดีของเราเป็นหมอ ดังนั้นเราก็เลยมีการเตรียมตัววางแผนกันพอสมควร ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนด้านการเรียนการสอน ระยะเวลาที่โควิดจะอยู่กับเรา โดยกะไว้ตั้งแต่ตอนนั้นว่าสักปีครึ่งถึงสองปี เพราะฉะนั้นก็เลยมีการวาง roadmap ในการจัดการยาวถึง 2 ปี ดังนั้นเทคโนโลยีก็จะมาช่วยเยอะ

ดร. กิตต์ เธียรธโนปจัย ผอ. สำนักเทคโนโลยีดิจิตัล ม.ขอนแก่น

และเป็นที่โชคดีว่าโควิดมาเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยกำลังจะปิดเทอม ตัวเลคเช่อร์จึงจะจบหมดแล้ว ก็จะมีประเด็นแค่เรื่องสอบ ทุกคนจึงช่วยกันหา solution ทั้งอาจารย์เองก็หาเองด้วย IT ก็ช่วยกันหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ vdo conference โดยมีการนัดแนะกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ โดยบางอาจารย์ได้ใช้ Zoom ในการเรียนการสอน เราก็ไปจัดหา account ให้ หรือบางอาจารย์จะใช้ Google หรือ Office365 ซึ่งมี function video conference ในตัว ก็เป็นสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว

โชคดีต่อมา คือ ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีระบบ LMS (Learning management system) ซึ่งเราใช้มาเป็น 10 ปี ตั้งแต่ปี 48 อย่างน้อยที่สุดคือเราก็มี content อยู่ อาจารย์จึงเชื่อมต่อกับนักศึกษาได้ โดยแค่ login เข้าไปก็มี outline ของคลาสและ meterial ต่างๆ ทำให้รู้ว่านักศึกษาต้องเรียนรู้อะไรในรายวิชานั้นๆบ้าง ทำให้การจัดการด้านการศึกษาง่ายขึ้น ดังนั้นต่อไปจึงพยายามปรับส่วนนี้ให้ดียิ่งขึ้น

โดยทั้งในช่วงโควิด ทางสำนักดิจิตัล อาจารย์ และฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาก้อมาประชุม แลกเปลี่ยน pain point ของแต่ละ tool ชนิดต่างๆ เพื่อหาข้อสรุปว่าเราจะต้องปรับปรุงทางไหน และ tool ไหนเหมาะที่จะเลือกใช้ที่สุดในแต่ละคลาส

โชคดีที่เรามีการเตรียมพร้อมด้านเทคโนโลยีมาพอสมควร นักศึกษาและอาจารย์เรามีอีเมล์ส่วนตัวที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้ ทำให้การเชื่อมต่อและการระบุตัวตนการติดตามไม่ยาก ทำให้ช่วงโควิดไม่ได้ยากมาก หรือโกลาหลมากนัก โดยถ้าเปรียบเทียบกับเคสโรงเรียนสาธิตขอนแก่น ซึ่งตัวนักเรียนไม่ได้มีอีเมล์ หรือ identity ที่เป็นออนไลน์ อาจารย์ก็จะ map ค่อนข้างยาก

อีกอันที่เรากำลังพยายามจะทำคือ เรื่องเอกสาร โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยนั้นใช้การเดินเอกสารค่อนข้างเยอะ พอโควิดระบาด ก็ไม่มีใครที่อยากจะรับเอกสาร แล้วสำนักงานก็ถูกปิด เราเลยอยากให้งานส่วนนี้ย้ายไปเป็น flow โดย K2 ก็เป็น tool ที่ช่วยย้ายงานพวกนี้ไปสู่ดิจิตัล เรามีการอบรมการทำ workflow กับผู้ใช้ เอกสารที่อยู่ใน flow นั้นเราก็ใช้ตามมาตรฐาน โดยเป็น format PDF และมีการ sign ในแต่ละขั้นตอนด้วย digital signature

เรามองว่าโควิดน่าจะอยู่กับเราอีกยาว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าการเรียนในห้องเรียนอาจจะไม่มี นักศึกษาต้องทำการเรียนผ่าน vdo conference แต่อาจจะจำเป็นต้องมามหาวิทยาลัยในรายวิชาที่เป็น LAB แต่ก็ต้องมีความจำเป็นในการทำ Social distancing

เรามีการสำรวจหอพัก เพราะว่าถ้าเรียนออนไลน์ก็ต้องใช้ internet ที่มีประสิทธิภาพ ก็สำรวจกัน หอไหนเก่า ก็ทำการเปลี่ยนเป็น Fiber ตามห้อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักศึกษาในการเรียนแบบ remote ที่จะเกิดขึ้น

อีกอย่างหนึ่งคือ นักศึกษาของเรา 90% มาจากอีสาน และมีส่วนหนึ่งที่ยากจน เราพบว่า นักศึกษาบางส่วนไม่สามารถซื้ออุปกรณ์มาใช้ได้ในช่วงนี้ จึงมีโครงการให้นักศึกษายืมใช้ โดยวางระยะเวลาของโครงการนี้ประมาณ 3 ปี เพื่อนักศึกษาจะได้มีอุปกรณ์และไม่กังวลกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นโควิดคร่าวๆ และการจัดการของมหาวิทยาลัยก็จะเป็นเช่นนี้ครับ

K2 : ขอย้อนกลับมาเรื่อง digital workflow ที่จะเกิดขึ้นที่ว่าจะแปลง paper เป็น ดิจิตัล ทั้งหมด ในฐานะที่อาจารย์เป็นผู้ดูแล infrastucture วางแผนเรื่องการ scale อย่างไรบ้าง

ดร. กิตต์ เธียรธโนปจัย : เรามี data center อยู่ มี computing server พอสมควร ซึ่งวางแผนไว้ให้เพียงพอกับการขยาย เพราะฉะนั้นสำนักดิจิตัลจะมี VM อยู่แล้ว คณะส่วนงานไม่ต้องจัดหา ถ้าหน่วยงานต้องการ resource ก็สามารถมาขอกับสำนักได้ ตอนแรกได้วาง VM ไว้ 5 ตัว แต่ต่อมาเราได้มั่นใจว่าเราจะใช้เทคโนโลยีของ K2 แล้วแน่ๆ จึงวางแผนให้มี high dedicated server เพื่อรองรับ user จำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้

K2 : ฝากขอคำแนะนำจากอาจารย์ให้น้องๆ ที่จะมาสาย infrastructure สักหน่อยครับ

ดร. กิตต์ เธียรธโนปจัย : ที่จริงผมเป็นสาย admin มาก่อน จบวิศวคอม แต่ว่างานที่ทำเยอะคือดูแลเครือข่ายและ server สมัยนี้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนตลอดเวลา เราจึงควรอัพเดทความรู้เสมอ อย่างในช่วงนี้ก็มีเรื่องของ container เข้ามาช่วย ทำให้การแบ่ง resource ในการพัฒนาหรือวางระบบ infrastructure เป็นไปได้ง่าย รวมทั้งในเรื่องของ automate tool ทั้งหลาย ก็จะช่วยในด้านของ scale และ deployment มากขึ้น นอกจากนี้แล้วเรื่องการสื่อสารระหว่างทีมก็สำคัญ ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าคนนี้ทำงาน function นี้จะอยู่กับตัวเองตลอด ต้องมีการพูดคุยก่อนทำงาน cross function กับคนอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น hardware ก็ต้องมาพูดคุยกับคนทำ software และโดยทั่วไปบริษัทหลายแห่งก็ต้องมีการประสานงานกันเช่นนี้ จึงฝากไว้ด้วยครับ

ติดต่อเรา

ขอข้อมูลเพิ่มเติม