เทคนิคการพัฒนาสินค้าใหม่ให้ตรงใจ และทันสถานการณ์วิกฤติในปัจจุบัน

เมษายน 25, 2020

เมื่อสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ทำให้พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยเดินเลือกซื้อของกันในห้างสรรพสินค้า กลายเป็นเข้าสู่ยุคช็อปปิ้งออนไลน์แบบเกือบจะ 100% บริษัทหรือผู้ผลิตสินค้า ต่างต้องรีบปรับตัวเพื่อจะมาสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้กัน หรือบางแห่งก็พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ด้วย เทคนิคการพัฒนาสินค้าใหม่ให้ตรงใจ ที่คล้อยไปกับสถานการณ์แต่ตอบโจทย์ลูกค้าในตอนนี้ อย่างเช่นแบรนด์เสื้อผ้าทำงาน ที่นำผ้ากันน้ำชนิดพิเศษที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ของตน มาปรับการตัดเย็บให้เป็นหน้ากากอนามัย เป็นต้น ดังนั้นในชั่วโมงนี้ บริษัทไหนที่สามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาได้เร็วและโดนใจผู้บริโภคมากกว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่ได้เปรียบคู่แข่งเป็นอย่างมาก

เทคนิคการพัฒนาสินค้าใหม่ให้ตรงใจ

หากพูดถึง New Product Development หรือ เทคนิคการพัฒนาสินค้าใหม่ให้ตรงใจ ถ้าเป็นในสถานการณ์ทั่วไป จะต้องเริ่มจากแผนกมาร์เก็ตติ้ง ลงสำรวจตลาดเพื่อหาช่องทางที่สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัท เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวมาแล้ว ก็จะต้องมาปรึกษากันกับแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือที่เราอาจจะเรียกกันแบบติดปากว่า R&D โดยทั้งสองแผนกจะร่วมมือกันค้นหาความเป็นไปได้ที่จะผลิตสินค้าชิ้นดังกล่าวขึ้นมา ซึ่งถ้าผลออกมาดูมีความหวัง ก็จะเข้าสู่กระบวนการผลิตและทดสอบต่อไป ขั้นตอนทั้งหมดนี้ในเวลาปกติ อาจกินระยะเวลาเฉลี่ย 2-3 เดือนโดยประมาณ แต่หากเป็นในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 นี้แล้ว มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่ขั้นตอนทั้งหมดอาจจะกินเวลายาวนานกว่าปกติ ด้วยปัจจัยความไม่พร้อมหลายอย่าง

ในเวลาปกตินั้น อุปสรรคอย่างหนึ่งในกระบวนการพัฒนาสินค้าใหม่ ก็คือการที่เราไม่สามารถติดตามความคืบหน้าในแต่ละขั้นตอนได้ 100% บางทีเมื่อแผนกมาร์เก็ตติ้งที่เป็นคนริเริ่มโปรเจคส่งงานออกไป ทุกอย่างก็ดูจะหายเข้ากลีบเมฆ โดยไม่อาจรู้ได้ว่าตอนนี้ทุกอย่างกำลังดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ซึ่งตรงจุดนี้เองคือส่วนที่ซอฟต์แวร์ของ K2 สามารถเข้ามาช่วยเหลือได้

สิ่งที่ K2 เข้ามาช่วยคือการทำให้ทุกขั้นตอนสามารถติดตาม หรือตั้งระยะเวลาที่กำหนดได้ และรายงานผลการทำงานในทุกขั้นตอนให้เจ้าของโปรเจกต์ทราบ รวมถึงยังสามารถออกแบบ workflow ได้อย่างอิสระ และยืดหยุ่น จึงสามารถนำมาปรับใช้งานกับสินค้าได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า, ของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึง “อาหาร” ตามตัวอย่างลูกค้าด้านล่าง

ตัวอย่างธุรกิจที่นำซอฟต์แวร์ K2 เข้าไปช่วยเหลือในขั้นตอนพัฒนาสินค้าใหม่

1. บริษัท A ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของไทย

บริษัท A เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ ที่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง ทำให้ต้องคอยพัฒนาสินค้าอยู่ตลอด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ฉะนั้นกระบวนการ New Product Development ของพวกเขาต้องรวดเร็ว และติดตามได้ในทุกกระบวนการ

เทคนิคการพัฒนาสินค้าใหม่ให้ตรงใจ

ทุกครั้งที่มีการเริ่มต้นพัฒนาสินค้าใหม่ หลังจากได้ข้อสรุปว่าจะเริ่มพัฒนาไปในทิศทางใด บริษัท A ก็จะนำข้อมูลมาเข้าระบบของ K2 จากนั้นเริ่มออกแบบ workflow ที่รวมทุกขั้นตอนที่จำเป็นเอาไว้ทั้งหมด ยิ่งในบางโปรเจ็กต์อาจจะต้องผ่าน workflow กันเป็นหลักร้อย กว่าจะสามารถจบออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่วางจำหน่ายหน้าร้านได้ แต่ถึงแม้จะมีขั้นตอนซับซ้อนมากมายแค่ไหน หากเราสามารถติดตามความคืบหน้าได้อย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่มีข้อมูลตกหล่น ก็จะช่วยให้ระยะเวลาในการพัฒนาสินค้าใหม่ลดลง เพราะไม่ต้องคอยเสียเวลาติดตาม หรือตรวจสอบความครบถ้วนนั่นเอง

“สิ่งที่ K2 เข้ามาช่วยคือการทำให้ทุกขั้นตอนสามารถติดตาม หรือตั้งระยะเวลาที่กำหนดได้ และรายงานผลการทำงานในทุกขั้นตอนให้เจ้าของโปรเจกต์ทราบ”

ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความที่บริษัท A ผลิตสินค้าหลายรูปแบบ แต่ละอย่างก็มีขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงไม่เหมือนกัน ทำให้การออกแบบ workflow ต้องมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ง่าย เพื่อทำให้ตัวสินค้าถูกพัฒนาออกมาตรงตามความต้องการ จุดนี้เองถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งที่ซอฟต์แวร์จาก K2 สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงประเด็น และครบถ้วนตามความต้องการ ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

2. บริษัท Global Biotechnology

Global Biotechnology เป็นบริษัทผู้นำการผลิตและวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพจากสหรัฐอเมริกา ที่รับเอาซอฟต์แวร์ K2 เข้าไปช่วยทำ Digital Transformation ให้กับขั้นตอน New Product Development ของบริษัทที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายทั้งในเรื่องเอกสาร และการติดตามสถานะของกระบวนการ ยิ่งไปกว่านั้น พวกเราน่าจะรู้กันดีว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพที่มีความเกี่ยวข้องกับอาหารไม่ว่าจะของคนและสัตว์ ก็ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบทางกฎหมายที่เข้มข้นซับซ้อน หากบริษัทยังคงยึดติดกับการทำงานแบบเดิม ๆ ผ่านรายงานแบบกระดาษ หรืออีเมลซึ่งมีโอกาสผิดพลาดสูง นั่นจะยิ่งทำให้กระบวนการ New Product Development ของบริษัทกินเวลานานออกไปอีก ทางบริษัทจึงตัดสินใจนำซอฟต์แวร์จัดการจาก K2 เข้ามาช่วยเหลือ

เทคนิคการพัฒนาสินค้าใหม่ให้ตรงใจ

K2 SmartForms และ workflows คือฟีเจอร์สำคัญที่ช่วยทุ่นแรงการทำ New Product Development ของบริษัท Global Biotechnology ให้เดินไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว และด้วยเอกลักษณ์ความเป็นแพล็ตฟอร์มแบบ low-code process automation ทำให้ทางทีมงานของทางบริษัทสามารถปรับแต่งขั้นตอนและ workflow ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ นั่นทำให้การทำ Digital Transformation ของบริษัท Global Biotechnology ประสบความสำเร็จและยกระดับมาตรฐานการผลิตให้สูงขึ้น รวมทั้งยังเพิ่ม productivity ให้กระบวนการต่าง ๆ อีกด้วย

ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาแบบนี้ การมีเครื่องมือคอยช่วยแบ่งเบาภาระการทำงาน และช่วยรันกระบวนการในโปรเจกต์ให้ผ่านไปอย่างราบรื่น อย่างเช่นกระบวนการพัฒนาสินค้าใหม่นี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเป็นอย่างมาก เพราะอย่างที่ทีมงานได้เกริ่นเอาไว้ในตอนต้น ว่าใครที่สามารถพัฒนาสินค้าออกมาได้ก่อน และตรงใจผู้บริโภคได้มากที่สุด ล้วนแล้วแต่จะได้เปรียบเป็นอย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบัน


เช่นเคยครับ ถ้าท่านผู้อ่านคนไหนสนใจอยากจะให้ K2 เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการบางอย่างในบริษัทของท่าน ก็สามารถลงชื่อรับความสนใจไว้ที่ฟอร์มด้านล่างได้เลย แล้วทีมงานจะรีบติดต่อกลับอย่างเร็วที่สุด

ติดต่อเรา

ขอข้อมูลเพิ่มเติม