เป็นเวลากว่า 3 เดือนแล้ว ที่โลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ไม่เพียงแต่สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้คนทั่วไป แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่ว่าจะบริษัทเล็กหรือใหญ่ ล้วนแล้วแต่ต้องรับแรงกระแทกกันไปเต็ม ๆ เช่นเดียวกันกับธุรกิจเช่าซื้อ หรือที่หลายคนเรียกกันอย่างคุ้นปากว่า Leasing ก็เดือดร้อนไม่แพ้กัน เพราะลูกค้าใหม่หายาก เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี คนจึงชะลอการสร้างหนี้ในส่วนที่ไม่จำเป็น ลูกค้าเก่าส่วนใหญ่ก็ส่อแววว่าจะไม่ไหว ทำให้ต้องออกมาตรการชะลอการผ่อนชำระมาช่วยประคองกันไป เรียกว่าเป็นวิกฤติการที่หาพบได้ยากแห่งยุคของบริษัทเหล่านี้เลยทีเดียว
ไม่กี่วันมานี้ ทางทีมงาน K2 ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณพรพิชัย วรธำรง กรรมการบริษัท iDesign Solution คู่ค้าคนสำคัญของทาง K2 เกี่ยวกับมุมมองที่มีต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และแนวทางการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านหลายท่าน โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเช่าซื้อ ที่ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของทาง iDesign Solution ฉะนั้นทีมงานจึงขอนำเนื้อหาการพูดคุยบางส่วนมาแบ่งปันให้ท่านผู้อ่านได้เก็บไว้เป็นเกร็ดความรู้ เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้เอง หรือส่งต่อให้คนที่น่าจะกำลังตกที่นั่งลำบากอยู่ในตอนนี้ได้เก็บไว้เป็นวิทยาทาน
ทีมงาน: สวัสดีค่ะคุณพรพิชัย ก่อนอื่นอยากให้ช่วยแนะนำบริษัทให้เรารู้จักคร่าว ๆ ได้ไหมคะ
คุณพรพิชัย: บริษัท iDesign Solution ก่อตั้งมาแล้ว 3 ปี วัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะทำแอปพลิเคชั่นในส่วน Business Managment ที่ไม่เหมือนในอดีต ที่แต่ละบริษัทเน้นทำซอฟต์แวร์แค่บางส่วน อย่างเช่นถ้าเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเช่าซื้อ ก็จะทำเรื่องของ Loan Origination, Core Hire Purchase หรือ Collection ของเราจะไม่เป็นแบบนั้น คือถ้าเราทำเรื่องของ Business Management เราจะมองว่าธุรกิจใช้ซอฟต์แวร์ของเรา จะต้องสามารถทำ end-to-end ได้ ซึ่งหมายความว่า ใช้เป็น One Standard Platform เลย คือเริ่มตั้งแต่การทำแผนธุรกิจได้ ทำเรื่อง Front-end การตลาดการขาย, Operation & Service การบริการลูกค้า, เรื่องของการเก็บหนี้ เรื่องการฟ้องคดี และสุดท้ายเรื่องของตัว Support ต่าง ๆ อันนี้คือสิ่งที่บริษัทมุ่งเน้นการทำ Business Management ที่ไม่เน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะเน้นการทำ Platform เลย
โดยทีมบริหารที่มาก่อตั้ง มีประสบการณ์จากหลากหลายธุรกิจมามากกว่า 20 ปี ซึ่งถ้ามีธุรกิจไหนที่ทางเราไม่ถนัด เราก็จะไม่ทำ Application ออกมา เราจะเน้นเฉพาะส่วนที่เราเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งในวันนี้สิ่งที่เรามุ่งเน้นต่อไป คือเราพยายามทำแอปพลิเคชั่นที่เป็น Low-code Technology เพื่อที่จะมาแก้ปัญหาของตัวซอฟต์แวร์ที่ปรับแต่งหรือขยับขยายได้ยาก หากทีมพัฒนาไม่อยู่แล้ว ฉะนั้นเราจึงพยายามหาแพล็ตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ ซึ่ง K2 ก็มาตอบโจทย์ตรงนี้ เพราะเป็นแพล็ตฟอร์มที่เป็น Low-code Technology แล้วยังเป็น BPM (Business Process Management) ไปในตัวด้วย และมุ่งเน้นให้ซอฟต์แวร์ของเราเป็นรูปแบบ Setup ใช้การเขียนโค้ดให้น้อยที่สุด เว้นส่วนที่เป็น Interface ที่เราจะใช้การเขียน API เชื่อมเข้าไป
ฉะนั้นซอฟต์แวร์ของเราจึงไม่มีวันตาย คือถ้าในอนาคตข้างหน้า ลูกค้าเริ่มเชี่ยวชาญ K2 แล้ว ก็สามารถที่จะต่อยอดเองได้เลย แทบไม่ต้องพึ่ง Vendor ยกเว้นว่าต้องการปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ที่ใหญ่จริง ๆ เพราะการปรับแต่งเล็ก ๆ น้อย ๆ บน K2 ลูกค้าจะสามารถทำได้เอง ไม่จำเป็นต้องรอเป็นเวลากว่า 3-5 เดือนเหมือนในอดีต
ทีมงาน: ก็คือเป็นการเลือกใช้ประโยชน์ของ Low-code ขึ้นมาเพื่อให้เป็นประโยชน์กับทางลูกค้า ใช่ไหมคะ?
คุณพรพิชัย: ใช่ครับ เพื่อที่ว่าลูกค้าจะได้ไม่ต้องมาพึ่งทาง Vendor ในการแก้ไขซอฟต์แวร์เป็นระยะเวลานาน
ทีมงาน: ในสถานการณ์ COVID-19 ปัจจุบัน ทางทีม iDesign มีความเห็นว่าสถานการณ์จะยืดเยื้ออีกนานไหม และคิดว่าจะจบในรูปแบบไหน?
คุณพรพิชัย: ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ COVID-19 ไม่ได้เกิดขึ้นแค่จีน และประเทศโดยรอบเพียงอย่างเดียวแล้ว ในตอนนี้ได้แพร่ระบาดออกไปทั่วโลก สิ่งที่มองไว้ก็คือสถานการณ์ไม่น่าจะจบโดยเร็ว ไม่เหมือนกับสถานการณ์ประเทศไทยน้ำท่วม ที่สามารถเคลียร์ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน
ตัวนี้ผมมองว่าต้องแบ่งเป็นระยะก่อน หากโฟกัสที่ประเทศไทยเราน่าจะแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ซึ่งระยะแรก ก็คือระยะการแพร่ระบาดและควบคุม ซึ่งผมคาดว่าน่าจะไปจบในเดือนมิถุนายน ซึ่งก็นับเป็นเวลา 3 เดือนพอดี ซึ่งก็จะเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของปี หลังจากนั้นปลายปีก็จะเป็นระยะที่สอง ที่ธุรกิจเริ่มจะเดินต่อกันได้ และน่าจะกินเวลาอีก 3 เดือน จากนั้นก็จะเป็นช่วงระยะฟื้นตัวขั้นสุดท้ายอีก 3 เดือน รวมทั้งหมด 9 เดือนพอดี
ทีมงาน: ตอนนี้ธุรกิจด้าน Leasing โดนผลกระทบอย่างไรบ้างคะ?
คุณพรพิชัย: ในส่วนธุรกิจเช่าซื้อหรือ Leasing ผมจะขอโฟกัสไปที่ธุรกิจการเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งค่อนข้างจะเห็นผลกระทบอย่างชัดเจน จริง ๆ แล้วเริ่มจากธุรกิจรถยนต์ในประเทศไทยก่อน ถ้ามองย้อนไปในปีที่แล้ว เรามียอดขายรถยนต์ทั้งในประเทศและส่งออก กว่า 2 ล้านคัน ในอัตราส่วนครึ่ง ๆ โดยประมาณ ทำให้การกำหนดเป้าหมายเมื่อช่วงต้นปี ก่อนสถานการณ์ COVID-19 วางไว้ที่ 2 ล้านคันเช่นกัน แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน หลังผ่านไตรมาสแรก เรามียอดขายเพียง 2 แสนคัน ซึ่งหากเทียบในช่วงเดียวกัน เราขายได้ประมาณ 260,000 เท่ากับว่ายอดลดลงกว่า 23.75% แต่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เราขายไปได้เพียง 52,000 คัน หายไปกว่า 58% จากยอดปีที่แล้ว ซึ่งในตรงนี้เองเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าธุรกิจเช่าซื้อกำลังมีปัญหา เพราะสถานการณ์ไม่ปกติ คนจะไม่ใช้เงิน ยอดหนี้ใหม่จึงหายไป แม้ว่าทางค่ายรถยนต์จะพยายามอัดโปรโมชั่นเข้ามาแล้วก็ตาม
ไม่เพียงเท่านั้น ด้านลูกค้าไฟแนนซ์ ที่เป็นยอดหนี้เก่า ก็เริ่มจะส่อแววผ่อนไม่ไหวกัน เพราะล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้าง หรือปรับลดเงินเดือนเช่นกัน ทำให้ทางไฟแนนซ์ต้องออกมาตรการเลื่อนการผ่อนชำระค่างวดออกไป 3 เดือนเป็นอย่างต่ำ หรือปรับโครงสร้างหนี้ในกรณีที่ผ่อนไม่ไหวจริง ๆ และขยายระยะเวลาในการผ่อนได้
ฉะนั้นเราจะสรุปผลกระทบที่เกิดกับ ธุรกิจเช่าซื้อกับวิกฤต COVID-19 ได้ 2 ข้อใหญ่ คือ
- มีลูกค้าใหม่น้อยลง เพราะดีลเลอร์ขายรถได้น้อยลง หรือลูกค้าก็จะออกรถโดยใช้ไฟแนนซ์น้อยลง นอกจากนี้ตัวไฟแนนซ์เอง ก็ต้องมีการปรับเกณฑ์คัดกรองลูกหนี้ เพื่อป้องกันหนี้เสีย
- ไฟแนนซ์ต้องพยายามประคองลูกหนี้เก่า เพื่อประคองให้เค้ามีค่างวดส่ง หรือช่วยแก้ไขปัญหาลูกหนี้โดยการพักชำระไป
“ทั้งหมดคือผลกระทบที่ไฟแนนซ์เจอจากสถานการณ์ตอนนี้ คือหนี้ใหม่(ลูกค้า)น้อยลง หนี้เก่ามีปัญหา”
ทีมงาน: แล้วในแง่ของเจ้าของธุรกิจ ทาง iDesign คิดว่าเราต้องปรับตัวอย่างไรบ้างเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงนี้ได้ ยกตัวอย่างจากธุรกิจ Leasing ก็ได้ค่ะ
คุณพรพิชัย: ถ้าในเรื่องตัวไฟแนนซ์เราต้องกลับมามองปัจจัยสองอย่างในแผนธุรกิจก่อนครับ ธุรกิจพวกนี้จะมีเป้าสองแบบ คือในปีนึงจะปล่อยเงินกู้เท่าไร และลดหนี้เสีย (NPL) เท่าไร ซึ่งในสถานการณ์แบบนี้มองได้ว่าน่าจะมีปัญหาทั้งคู่ ฉะนั้นสิ่งที่ต้องกลับมาดูก็คือต้องปรับเกณฑ์ในการอนุมัติลูกหนี้รายใหม่อย่างไร ในบางที่อาจจะไม่ปล่อยสินเชื่อเลย ซึ่งก็จะช่วยลดโอกาสในการเกิดหนี้เสียลงได้ แต่ก็จะมีผลในเรื่องความสัมพันธ์กับดีลเลอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเช่าซื้อรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ เพราะทางไฟแนนซ์ไม่ได้เป็นคนปิดการขาย แต่จะรับเคสจากทางดีลเลอร์ที่ปิดการขายมาให้ ฉะนั้นหากไฟแนนซ์มีนโยบายไม่ปล่อยสินเชื่อเลย ดีลเลอร์ก็จะขายไม่ได้ ดังนั้นเรื่องที่ควรทำเพื่อรักษาความสัมพันธ์นี้ไว้ คือปรับเกณฑ์การพิจารณาลูกหนี้ใหม่ ซึ่งอาจจะต้องมีเงื่อนไขที่มากยิ่งขึ้น และคุยกับทางดีลเลอร์ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ และวางแผนการปรับตัวร่วมกัน
คราวนี้กลับมาดูในส่วนของลูกหนี้ปัจจุบัน สิ่งที่ทางไฟแนนซ์ต้องทำ คือต้องแบ่งกลุ่มลูกหนี้ตัวเองก่อนดังนี้
- กลุ่มลูกหนี้ที่ยังมีรายได้ประจำ และมีศักยภาพในการผ่อนชำระอยู่
- กลุ่มที่เริ่มปริ่มน้ำ รายได้ประจำติดขัด แต่ยังฟื้นได้หากได้รับการพักชำระ 3 เดือน
- กลุ่มที่ผ่อนต่อไม่ไหวแล้วจริง ๆ
สำหรับกลุ่มแรกที่ไม่มีปัญหา สิ่งที่ต้องทำก็คือช่วยประคับประคองเขาไปให้สามารถผ่อนได้ต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้กลายสภาพมาเป็นกลุ่มที่สอง ที่ต้องพึ่งนโยบายการพักชำระ 3 เดือน ส่วนกลุ่มสุดท้ายที่สภาพแย่จริง ๆ และไม่น่าจะฟื้นได้ใน 3 เดือน ต้องเริ่มมีการเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยกันค้นหาแนวทางแก้ปัญหา อาจจะเป็นการทำสัญญาใหม่ยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระออกไป จากเดิม 60 งวด เป็น 84 งวด เป็นต้น ฉะนั้นการแบ่งกลุ่มลูกหนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญและควรทำภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน
“สิ่งที่แนะนำให้ทำในตอนนี้ คือการแบ่งกลุ่มลูกหนี้ออกให้ชัดเจน และหามาตรการรับมือให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม เพื่อประคองให้พวกเขายังคงสภาพเป็นลูกค้าเราอยู่ และกลับมาเริ่มผ่อนชำระไหว หลังสถานการณ์คลี่คลาย”
คราวนี้เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย และธุรกิจเริ่มเดินต่อได้ ทางไฟแนนซ์จะต้องเริ่มปรึกษาหารือกับทางดีลเลอร์ เพื่อที่จะลดเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ หรือกระทั่งออกโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นตลาด ร่วมกันสร้างยอดให้กลับคืนมา เพราะในตอนวิกฤติต้มยำกุ้งเคยมีกรณีที่ไฟแนนซ์กับดีลเลอร์ไม่เกื้อกูลกัน ไฟแนนซ์ตั้งเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อไว้ยากมาก ๆ ส่งผลให้ดีลเลอร์ขายรถเองไม่ได้ จนทางบริษัทแม่ของค่ายรถยนต์ ต้องเข้ามาตั้งบริษัทไฟแนนซ์กันเองเพื่อช่วยเหลือตรงจุดนี้ ซึ่งนับว่าไม่เป็นผลดีต่อทางไฟแนนซ์เองด้วย
ทีมงาน: แล้วทาง iDesign สามารถเข้าไปช่วยลูกค้าได้อย่างไรบ้าง?
iDesign: ถ้าพูดถึงตัวแอปพลิเคชั่น ณ วันนี้ที่เราใช้ K2 ซึ่งเป็นระบบ Setup ที่สามารถปรับแต่งพร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลา 2-3 อาทิตย์ ทำให้เราสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นขึ้นมาได้ภายในเวลาอันสั้น อย่างเช่นระบบคัดกรองลูกหนี้ ที่ช่วยลดงานจากการที่เราต้องหาคนมานั่งตรวจสอบทีละคน หากใช้ K2 เพียงแค่เราเขียนหลักเกณฑ์เข้าไปในระบบ และป้อนข้อมูลที่รวบรวมไว้เข้าไป ระบบจะจัดการตามเกณฑ์ให้เราทันที ช่วยให้ประหยัดเวลารวมถึงทำงานได้เร็วขึ้น
ทีมงาน: ก็คือการที่เราไม่ต้องนั่งเขียนโค้ด ช่วยให้แอปพลิเคชั่นของเราสามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วตามธุรกิจ สามารถเอาเวลาไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่ต้องดูแล หรือดีลเลอร์ ที่เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจลิสซิ่งสามารถดำเนินต่อไปได้ในอนาคตถูกไหมคะ
คุณพรพิชัย: ใช่ครับ
ทีมงาน: สุดท้ายอยากให้ทาง iDesign ฝากในส่วน Solution ของ iDesign ที่อยู่บน K2 Appstore หน่อยค่ะ
คุณพรพิชัย: ตอนนี้เรามีโฟกัสอยู่หลายตัวครับ ตัวแรกคือ Hire Puchase Business Management ที่รองรับในเรื่องการทำธุรกิจของไฟแนนซ์รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ ด้วยความที่ K2 เป็นแพล็ตฟอร์มที่ Low-code และเป็น BPM ทำให้เราใช้เวลาในการขึ้นระบบไม่เกิน 5 เดือน รวมถึงเป็นซอฟต์แวร์ที่เกิดจากการใช้ประสบการณ์ของผู้บริหารมาออกแบบ ช่วยให้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น สำหรับในส่วนของการปรับแต่งฟีเจอร์นั้น ผมกล้าบอกได้เลยว่าใช้เวลาเพียงแค่ 2-3 อาทิตย์ ก็สามารถปรับแต่งและพร้อมใช้งานได้เลย ต่างจากเมื่อก่อนที่กินเวลาหลายเดือน
นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่มีรายละเอียดตามนี้ครับ
- Car Rental – รองรับธุรกิจเช่ารถยนต์ ทั้งในแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
- Condo, Housing Loan – สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
- Asset Finance Loan – สินเชื่อขายฝาก ที่สามารถนำมาใช้กับ SME ได้
- Debt Management – ระบบติดตามทวงถามนี้
- Litigation Management – ระบบฟ้องคดี
ซึ่งจากลิสต์ด้านบน ระบบที่น่าจะเหมาะกับไฟแนนซ์ที่สุดตอนนี้คือน่าจะเป็น Debt Management ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทันสถานการณ์ช่วงนี้พอดี เพราะใช้เวลาไม่เกิน 1-2 เดือน ก็พร้อมใช้งานได้เลย
“K2 เป็นแพลตฟอร์มที่ Low-code และเป็น BPM ในตัว ทั้งหมดนี้ทำให้ตัวซอฟต์แวร์มีความยืดหยุ่น และปรับแต่งได้ง่าย รวมถึงสามารถขึ้นระบบได้ภายในระยะเวลาอันสั้น”
ทีมงาน: ทางทีมงานขอขอบคุณ คุณพรพิชัยมากนะคะ ที่สละเวลามาแบ่งปันความรู้และมุมมองของ ธุรกิจเช่าซื้อกับวิกฤต COVID-19ในวันนี้ ไว้มีโอกาสอยากจะเชิญมาพูดคุยกันอีกค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
คุณพรพิชัย: ยินดีครับ ขอบคุณครับ
จากบทสัมภาษณ์จะเห็นว่าธุรกิจไฟแนนซ์นั้น มีเรื่องละเอียดอ่อนที่เราคาดไม่ถึงอยู่พอสมควร ทั้งในเรื่องการช่วยเหลือลูกหนี้ และเรื่องการรักษาความสัมพันธ์กับดีลเลอร์ ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้แพลตฟอร์มของ K2 สามารถช่วยแบ่งเบาหรือย่นระยะเวลาในการทำงานให้ได้ทั้งสิ้น ท่านที่สนใจ สามารถเข้าไปศึกษาแอปพลิเคชั่นที่ทาง iDesign Solution ได้ออกแบบเอาไว้ที่ลิงก์นี้ครับ
หรือหากท่านต้องการให้ทีมงาน K2 ติดต่อกลับเพื่อรับคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหา ธุรกิจเช่าซื้อกับวิกฤต COVID-19 ที่เจอในตอนนี้ สามารถลงชื่อผ่านทางแบบฟอร์มด้านล่าง แล้วทีมงานจะรีบติดต่อกลับอย่างเร็วที่สุดครับ